Wednesday, October 12, 2011

PROGRAM : 3.2 Color & Modern art

เพื่อให้นิสิตเข้าใจในเรื่องทฤษฎีสี การสร้างงานศิลปะยุคสมัยต่างๆ ของศิลปะสมัยใหม่ (Modern art) และสามารถสื่อความหมายเป็นงาน 2 มิติ ได้โดยมีภาพต้นแบบจากปฏิบัติการ 2

ภาพแรกเป็นแบบ Impressionism ผมรู้สึกชอบงานนี้มาก เพราะตั้งแต่งานที่แล้วผมได้ทำภาพคล้ายๆกับแนว impressionism ไป  รอบนี้ผมเลยลงมือกับงานนี้อย่างเต็มที่ ภาพต้นแบบของ Sir Nicholas Grimshaw
 เช่นเคย   ผมได้แต้มสี ผสมสีด้วยอารมณ์ความรู้สึกตอนนั้น  มีการใช้สีขาวผสมเพื่อให้ภาพดูสบายตามากขึ้น และพยายามแต้มโดยใช้อารมณ์เป็นหลักไม่มีการคิดว่าต้องแต้มไปทางไหน ต้องแต้มอย่างไร แต่ใช้อารมณ์ปลายพู่กันล้วนๆในการวาด เพื่อสื่อถึงงานในลักษณะ impressionism  งานนี้เลยได้ B+ ไป





ภาพที่สอง เป็นแนว cubism ผมเอามาวิเคราะห์ว่า cubism คืออะไรแล้วจึงลงมือระบายสีเลย โดยพยายามลดทอนองค์ประกอบต่างๆของภาพให้เหลือเป็น Geometric แต่สุดท้ายก็ล้มเหลว เพราะรูปที่ออกมา ค่อนข้างไม่สื่อถึงรูปต้นแบบเท่าที่ควรจะเป็น และงาน แบบ cubism ควรแสดงถึง รูปเลขาคนิตมากกว่านี้งานที่ผมได้ทำออกมานั้นเป็นแนวตัดขอบของงานให้ดูเหลี่ยมๆและลดทอนรายละเอียดจากทรงโค้งเป็นทรงเหลี่ยมอย่างเดียวเลย และสีที่ใช้ไม่ค่อยคมเท่าที่ควร งานนี้เลยได้ D ไป

Monday, October 10, 2011

PROGRAM : 6.2 รูปทรงและที่ว่างแห่งอริยาบถ Final Jury: 3-D Space & Human Scale


งานนี้เป็นงานที่เอาวัสดุที่เคยทดลองเมื่อ 6.1 มาขึ้นเป็น 3D-space และ เอาเข้ากับ human scale เป็นการทำให้เกิด บริเวณพื้นที่ใช้สอยที่จะให้ มนุษย์สามารถเข้าไปแล้วเกิด อิริยาบถ ต่างๆได้




กว่าจะออกมาเป็นรูปแบบนี้ได้ต้องตรวจแบบครั้งสุดท้ายกว่าจะขึ้นเป็น module ที่สามารถสร้างแล้วเป็นโครงสร้างรับน้ำหนักด้วยตัวมันเองได้ แนวคิดหลักตอนแรก คือ  space ที่เล่นเรื่องของแสง  เพราะตัวหลอดเองก็เปนวัสดุทึบแสงแต่ด้วยเราไม่ได้วางหลอด แบบ ทึบทั้งหมด เลยมีช่องแสงที่สามารถเปิดได้ นั่นเอง   และแนวคิดอีกอย่างที่ตามมา คือ sustainable space  เป็นแนวคิด ที่ว่า ช่องเปิดแต่ละอันที่เกิดขึ้นในชิ้นงานของเราสามารถปลูกต้นไม้ใส่ต้นไม้ไปได้นั่นเอง  แต่กว่าจะใช้หลอดขึ้นเป็น form แล้วรับน้ำหนักได้ขนาดนี้ก็เหนื่อยทีเดียว เพราะตัวหลอดจะบี้เองไปเรื่อยๆ ตามเวลาเมื่อรับน้ำหนัก หรือถูกลมพัด


                                                                    ภาพขณะ  july




เป็นรูปของ sketch design แสดง ถึงขึ้นตอนการทำ และ ทัศนียภาพที่เกิดขึ้นนะครับ

PROGRAM 6.1 รูปทรงและที่ว่างแห่งอิริยาบถ Material / Form / Space


งานชิ้นนี้เป็นงานคู่คือให้ศึกษาทดลองคุณสมบัติ (ศักยภาพและข้อจำกัด ) เพื่อที่จะใช้เป็นวัสดุหลักในการสร้างรูปทรง 3 มิติ ( ที่สามารถคงรูปได้ )


งานนี้กว่าจะออกมาเป็นแบบนี้ก็ได้ทดลองเป็นจำนวนมากกับวัสดุ คือ หลอดนั่นเอง
วิธีที่ใช้คือการสอด   เราได้ลองสอด ด้วย pattern แปลกๆไปเรื่อยๆ แต่สุดท้ายคือกลายเป็นว่า
ไม่มีรูปแบบของการขึ้น form เป็นการขึ้น form แบบมั่วๆ T  T   พวกเราไม่ได้คิดถึงจุดนั้น ตอนแรกเราคิดว่า
ทำไงให้ใช้หลอดแล้ว รับน้ำหนักทั้งหมดโดยใช้แค่หลอดตัวมันเอง : )  แต่พวกเราก็ทำเต็มที่แล้ว
มีการสอดแบบต่างๆ และเลือกใช้สีที่เป็นผสมขาวเพื่อลดความเหลี่ยมความแข็งของงานลง



การทดลองเพิ่มความแข็งแรงของหลอดโดยการสานหลอด




รูปแบบการต่อกันของหลอด



                                                                       ขณะกำลังจูลี่ให้อาจารย์ฟัง

ทัศนศึกษา

เพื่อเปิดโลกทัศน์ เปิดกระบวนการวิเคราะห์ตามหลักทฤษฏีที่ได้เรียนมา และฝึกฝนทักษะการนำเสนอข้อมูล

และให้วิเคราะหฺ์งานตามที่ได้เรียนมาคือ  การจัดองค์ประกอบ , ทฤษฏีสี , การสื่อความหมาย , รูปร่าง , รูปทรง , ที่ว่าง และการออกแบบแสง เป็นต้น






ผมได้ไปศึกษาถึงที่และได้ไปดูงานต่างๆมากมาย พบว่า การสร้างสรรค์งานต่างๆนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกันไม่มีการจำกัดอยู่ในกรอบ เราสามารถออกแบบอะไรที่เรานึกที่เราคิด แค่นั้นก็เป็นการออกแบบแล้ว
บางทีการเปลี่ยนสถานที่การมองของต่างๆขรอบๆอาจจะเกิดแรงบันดาลใจอะไรใหม่ๆก็ได้
อย่างวันที่ผมได้ไปดูที่ BACC มีรูปนึงที่ผมชอบมาก เป็นการประกวดภาพเกี่ยวกับคุณครู เป็นภาพที่เป็นเด็กกับในหลวง โดยใช้ ภาพที่มีลักษณะนูนลงไป  ทำให้เกิดเงาและแสงที่ได้อารมณ์ของภาพเป็นอย่างมาก

ส่วนรูปที่เลือกมานั้นเป็นการสื่อถึงทัศนยภาพที่เป็นการสื่อที่ดีถึงความเป็นไปที่ภาคใต้ ศิลปินได้วาดและสะท้อนอารมณ์ออกมาได้ดีมาก 

รูปแบบงานที่นำเสนอนั้นเป็นแบบ ใช้ Photoshop ในการจัดหน้ากระดาษและใช้การปรับ transparency เอา ใช้รูปแบบการจัดหน้ากระดาษแบบเน้นรูป และเป็นการจัดให้หน้ากระดาษดูมีระเบียบ แต่มีข้อติ คือการปรับ transparecy ถ้าจัดเรียงตัวรูปภาพไม่ดี จะทำให้รูปภาพมาซ้อนกัน อาจทำให้ งานที่ถ่ายมาเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ และ font ใน Photoshop นั้น ส่วนมากจะติดกันมากเกินไป ในบรรทัดต่อบรรทัดนี่เป็นข้อเสีย ส่วนเรื่องการนำเสนอ ควรปรับปรุงในเรื่องการเรียงลำดับเนื้อเรื่องพูดถึงที่มาที่ไปให้ผู้ฟังได้เข้าใจก่อนที่จะเข้าเรื่องหลักนั่นเอง

Saturday, October 8, 2011

PROGRAM 5.3 การสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ / ที่ว่าง 3 มิติ / สภาพแวดล้อม (Symbolic Meaning/ 3-Dimension / Environment)




ให้นิสิตออกแบบที่ว่าง 3 มิติจากการนำหุ่นจำลองใบงานที่ 5.1 และ 5.2 มาพัฒนาให้สื่อถึงความลื่นไหล มีชีวิตชีวา(Flow of space) การเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง(Mobility) มีพลวัต (Dynamic) พร้อมกำหนดสภาพแวดล้อม ภายในอาคารและภูมิทัศน์รอบคณะสถาปัตยกรรมศาสต

จากการที่ผมได้นำ 5.1 และ 5.2 มาพัฒนา ผมได้เลือกส่วนของตาแมลงวันซึ่งตาแมลงวันจะเป็น module ที่ซ้ำๆกันจากที่ได้ศึกษาไว้ใน 5.1  งานนี้ผมเลยนำมาพัฒนาต่อ  มีการเว้นช่องเปิดและช่องแสงที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก  และ model ทั้งชิ้นเป็นการใช้ ที module ของทรงลูกตาของแมลงวันที่เป็น 6 เหลี่ยมนำมาต่อเข้าด้วยกัน และต่อกันแบบอิสระเพื่อแสดงถึงทิศทางการบินของแมลวัน งานชิ้นนี้มีข้อติ คือ over scale ไปมาก และไม่สัมพันธ์กับการบินของแมลงวันที่มันบินต่ำๆ

PROGRAM 5.2 การสื่อความหมาย / รูปทรงเปิด / แสงสว่าง (Meaning / Open form / Lighting)



ใช้สอยเป็นโคมไฟ จากการทำหุ่นจำลองใน 5.1 โดยภายในดวงโคมสามารถติดตั้งหลอดไฟขั้วเกลียวขนาดเล็ก (ชนิดแสง Warm white) จำนวน 1 หลอด และต้องออกแบบให้สามารถเปลี่ยนหลอดไฟภายในได้โดยสะดวก







โคมไฟชิ้นนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากแมลงวัน ที่ผมเอามาคือส่วนปีกของแมลงวัน และทำให้เกิดการซ้อนทับกันของลายเกิดขึ้น  วัสดุที่ใช้คือ art card แต่ปัญหาที่พบคือจำนวนช่องแสงที่ออกมาจากโคมไฟมีมากเกินไปทำให้ เงาที่เกิดขึ้นมีไม่เยอะเกินไป มีแสงที่เป็น direct light มากกว่า   รูปทรงที่เกิดขึ้นนั้นต้องการที่จะสื่อถึงการบินไปบินมาของแมลงวันที่บินไปแล้วก้วนกลับมาที่เดิม  ให้ความรู้สึกถึงอิสระนั่นเอง : D   

PROGRAM 5.1 รูปทรงธรรมชาติ / ความหมายและเทคนิคการสื่อความหมาย (Natural form / Meaning & Technique)

ให้นิสิตทำความเข้าใจสิ่งมีชีวิต หรือรูปทรงธรรมชาติ 1 ชนิดที่สนใจ แล้วนำมาลดทอนรูปแบบในส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด ที่สามารถอ้างอิงคุณสมบัติ หรือเอกลักษณ์สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลงาน 3 มิติ ต่อไป






ผมได้วิเคราะห์และศึกษาทดลองเกี่ยวกับแมลงวัน และได้ลดทอนรูปทรงต่างๆของมัน เป็นรูป Geometric form ทั้งส่วนข้อปล้อง การเน้นไปที่ ปากดูดของแมลงวัน  ปีกการบิน ลูกตาของแมลงวัน   งานชิ้นนี้ค่อนข้างออกมาไม่ดีเล็กน้อยเพราะดูเหมือนว่าเด็กส่วนใหญ่จะใช้ Geometric form ในการลดทอนเกือบทั้งหมดทั้งที่จริงๆแล้วไม่จำเป็นต้องเป็น Geometric form ก็ได้  

PROGRAM: 3.1 The meaning of Nature's colors


 ให้นิสิตเข้าใจในเรื่องทฤษฎีสี เทคนิคน้ำหนักความสว่างของสี(Lightness-color value)
เทคนิคการลดความสดของสี (Saturation-intensity) และโครงสี (Color Scheme)


ภาพนี้ชื่อว่า " ดอกไม้ในทุ่งหญ้า "
ภาพนี้เป็นการเลือกใช้ เทคนิคน้ำหนักความสว่างของสี (Lightness-color value)
เทคนิคการลดความสดของสี (Saturation-intensity) และโครงสี (Color Scheme) มาใช้

โดยผมเลือกโทนสีหลัก สามสี คือ เหลือง เขียว และ น้ำตาล  ใช้โครงสีแบบ analogic  
มีการใช้เกลี่ยสี แต่เมื่อใช้การเกลียสีและแต้มสีแล้วทำให้ภาพที่ได้  ภาพต้นแบบมาจาก หนังสือของเกษตรศาสตร์ น่าจะเป็นภาพของดอกนนทรีวางอยู่ในทุ่งหญ้า ในรูปมีการ focus มาที่จุดเดียวคือ ดอกนนทรี นอกนั้นจะ เบลอๆ ออก  ผมเลยวาดโดยใช้แต้มสี เพื่อแสดงถึงการเบลอของ backgrond นั่นเองแต่การทำแบบนี้ทำให้แสดงสีออกมาได้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควรเลยได้ D + ไป